มาตรฐานการแนะแนว
นิยามของคำว่ามาตรฐานการแนะแนว
มาตรฐานการแนะแนว หมายถึง ขอบข่ายภาระงานการแนะแนว มาตรฐานการแนะแนวและข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในหน่วยงานและสถานศึกษา เพื่อให้เป็นกรอบในการเทียบเคียงสำหรับส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ
การประเมิน และการประกันคุณภาพการแนะแนว
มาตรฐานการแนะแนวและตัวบ่งชี้
1. มาตรฐานและตัวบ่งชี้ด้านผู้รับบริการ
มาตรฐานที่ 1 รู้จักตนเอง ควบคุมตนเอง พึ่งตนเองและสามารถปรับตัวได้
ตัวบ่งชี้
1. รู้ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ ข้อดี ข้อด้อยของตนเอง ปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
2. แสดงออกอย่างเหมาะสม รู้กาละเทศะในการใช้คำพูด กิริยามารยาทและการแต่งกาย ความยับยั้งชั่งใจ อดทนและอดกลั้น
3. ช่วยเหลือตนเองได้ตามวัย มีความมั่นใจกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม สามารถกำหนดเป้าหมาย แนวทางตัดสินใจและแก้ปัญหา
ของตนได้
มาตรฐานที่ 2 สามารถเลือกและตัดสินใจ วางแผนและจัดการชีวิต การเรียน การงาน และอาชีพอย่างมีคุณภาพ
ตัวบ่งชี้
1. สามารถประเมินทางเลือก และตัดสินใจโดยใช้เหตุผลและข้อมูลที่เชื่อถือได้
2. สามารถกำหนดเป้าหมาย วางแผน และดำเนินการตามแผนในเรื่องชีวิตของตนเอง การเรียน การงานและอาชีพ
มาตรฐานที่ 3มีวุฒิภาวะทางอารมณ์
ตัวบ่งชี้
1. เข้าใจอารมณ์ของตนเอง
2. จัดการกับอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม
3. กล้าแสดงความคิด และความรู้สึกของตนเองอย่างเหมาะสม
4. รู้จักใช้อารมณ์ ความรู้สึกมาเป็นพลังในการสร้างแรงจูงใจให้มองโลกในแง่ดี ไม่ย่อท้อ และฟันฝ่าสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
5. เข้าใจผู้อื่นและรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้
2. มาตรฐานและตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการ
มาตรฐานที่ 4การบริหารและการจัดการงานแนะแนวอย่างเป็นระบบ
ตัวบ่งชี้
1. จัดองค์กร โครงสร้างการบริหารงานแนะแนวอย่างเป็นระบบ มีความชัดเจน ง่ายต่อการปฏิบัติ
2. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงาน และมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม
3. มีแผนงาน/โครงการ ปฏิทินปฏิบัติงานที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ ที่เป็นปัจจุบันและนำไปสู่การปฏิบัติจริง
4. มีการควบคุม ตรวจสอบ ทบทวน อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน
(ยังมีต่อ)