วิเคราะห์ผู้นำ
พ.ต.อ.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
นักสู้ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
ชื่อ : พ.ต.อ.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
เกิด : 26 กรกฏาคม 2492
อายุ : 48 ปี
ประวัติการศึกษา :
- ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่
-โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10
-โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26
-ปริญญาโท จาก Eastern Kentucky University
-ปริญญาเอกทาง Criminal justice จาก Sam Honstan State University,Taxas,U.S.A
ประวัติการรับราชการ : - ประจำค่ายนเรศวร หัวหิน
-รอง สว.สน.พระราชวัง
-อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
-หัวหน้าแผนก 6 กองวิจัยและวางแผน
-รองผู้กำกับการ ศูนย์ประมวลข่าวสาร กรมตำรวจ
ลาออกจากราชการเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว เมื่อ ธ.ค. 2530
ด้านธุรกิจ : ประธานกรรมการ บริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ จำกัด และบริษัทในเครือ
ข้อคิด 11 ประการ แนวทางสู่ความสำเร็จในชีวิตของ พ.ต.อ.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
1.ชอบเรียนรู้
2.มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
3.อดทน
4.มีทัศนคติเป็นผู้ชนะ
5.ถือคุณธรรมและเมตตา
6.ยึดหลักคุณธรรม
7.ต้องมีครอบครัวที่ดี
8.แบ่งเวลาให้เป็น
9.ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนได้อย่างเหมาะสม
10.ใจกว้าง
11.มีจิตสำนึกต่อสังคม
ภาคที่ 3 การชนะใจคนอื่น
กรอบความคิดของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
"มิตรภาพไม่มีวันเกิดขึ้นได้ถ้าปราศจากความเชื่อมั่น
และความเชื่อมั่นจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้ถ้าปราศจากความ
ซื่อตรง"
แซมมวล จอห์นสัน
จากภาคที่ผ่านมามีความสัมพันธ์กับภาคที่ 3 นี้ โดยเป็นพื้นฐานของภาคที่ 3 การชนะใจคนอื่น คือ
การพึ่งพาตนเอง--->การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน--->การชนะใจตนเอง
--->การชนะใจคนอื่น
ทำอย่างไรจึงจะชนะใจผู้อื่นได้
- ควบคุมตนเองและมีระเบียบวินัยต่อตนเอง
-นับถือตนเอง
-มีความเชื่อใจและไว้วางใจผู้อื่น
-เปิดเผยความรู้สึกของตนเอง
-จริงใจกับคนรอบข้าง
-มีการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในแง่บวก
@ บัญชีความรู้สึกที่ดี @
บัญชีความรู้สึกที่ดีีี คือ จำนวนความไว้ใจที่สร้างขึ้นจากสัมพันธภาพต่างๆที่คุณมีกับคนอื่นเช่น เมื่อคนคนหนึ่งมีน้ำใจต่อคุณ มีความเอื้ออาทร ความซื่อสัตย์ และรักษาคำมั่นสัญญาให้กับคุณ แน่นอนคุณต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเขา เชื่อใจเขามากขึ้น ความรู้สึกที่ดีต่างๆเหล่านี้จะอยู่ในบัญชีความรู้สึกที่ดีในความทรงจำของคุณ
การที่ผู้อื่นมีบัญชีความรู้สึกที่ดีต่อคุณนั้นจะเป็นผลดีต่อตัวคุณเอง เช่นในบางครั้งคุณอาจทำสิ่งที่ผิดพลาดไป แต่คุณไม่สามารถอธิบายให้เขาเข้าใจได้ว่าทำไม เขาสามารถเข้าใจ เชื่อใจคุณด้วยความรู้สึกที่ดีที่มีต่อคุณที่เคยมีอยู่ในบัญชีความรู้สึกที่ดีของเขา
ในทางตรงกันข้ามหากคุณทำอุปนิสัยที่ส่อไปในทางที่ไม่น่าวางใจ ไม่น่านับถือ บัญชีความรู้สึกที่ดีของผู้อื่นที่มีต่อคุณก็จะลดน้อยลง
ตัวอย่างใกล้ตัวมากที่สุดก็คือ เรื่องของการแต่งงาน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบต่อเนื่องที่ต้องมีบัญชีความรู้สึกที่ดีต่อกันตลอด
6 วิธีในการฝากความรู้สึกที่ดี
1.เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.ใส่ใจกับเรื่องเล็กน้อย
3.รักษาคำมั่นสัญญา
4.ทำความเข้าใจเรื่องความคาดหวังให้ชัดเจน
5.แสดงให้เห็นถึงความซื่อตรงต่อหลักการของตัวเอง
6.กล่าวคำขอโทษอย่างจริงใจเมื่อคุณต้องการถอนความรู้สึกที่ดี
กฎของความรักและกฎของการใช้ชีวิต
"เมื่อไรก็ตามที่เราฝากความรู้สึกของความรักแบบไม่มีเงื่อนไข เมื่อไรที่เราอาศัยอยู่บนกฎเบื้องต้นของความรัก เมื่อนั้นเท่ากับเราสนับสนุนให้คนอื่นมีชีวิตอยู่บนกฎพื้นฐานของความรัก" ในอีกคำพูดหนึ่ง "เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารักคนอื่นชนิดไม่มีเงื่อนไขใดๆ ก็เท่ากับเราช่วยทำให้พวกเขารู้สึกมั่นคง ปลอดภัย และสามารถตรวจสอบและยืนยันได้ในแก่นแท้ของคุณค่า เกียรติภูมิ และความซื่อตรง"
เมื่อเราละเมิดกฎของความรัก ก็เท่ากับเรากำลังสนับสนุนผู้อื่นให้ละเมิดกฎของความรักเช่นกัน เราทำให้เขาต้องตอบสนองกับการกระทำของเรา ทำให้เขาต้องเป็นฝ่ายปกป้อง
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นอิสระได้ พวกเขาต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการพึ่งพาและเป็นส่วนล่างสุดของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกน พวกเขาจะกลายเป็นพวกต่อต้าน หรืออาจถึงขั้นเป็นศัตรูได้
การต่อต้านเป็นเงื่อนไขของหัวใจไม่ใช่ของจิตใจ กุญแจสำคัญอยู่ที่การฝากความรู้สึกที่ดี การฝากความรักแบบไม่มีเงื่อนไขอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาของ P ก็คือโอกาสของ PC
ในภาวะการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน "ที่ไหนมีปัญหาที่นั่นมีโอกาส"โอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์ คือ เขาจะเห็นได้ว่าเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นทำให้เราจะต้องแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วง
แต่ว่าปัญหาบางอย่างนั้น ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขโดยคนคนเดียวได้จึงต้องมีการช่วยเหลือกัน ช่วยกันคิดช่วยกันทำ โดยให้ช่วยกันเสนอความคิดเห็น และอย่ามองว่านั่นไม่ใช่ปัญหาของเราเพราะจะทำให้ความสัมพันธ์ที่กำลังจะ
เกิดจากการร่วมมือกันนั้นหายหรือว่าหมดไปได้
ให้เราได้พยายามและควรที่จะตระหนักอยู่เสมอว่า การสร้างสมดุลระหว่าง P/PC เป็นความจำเป็นสำหรับผู้ต้องการประสิทธิผล ให้เรามองเห็นคุณค่าของปัญหาในฐานะของการสร้างความสัมพันธ์ส่วนบุคคล
อุปนิสัยของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สามารถสำเร็จได้โดยคนที่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงเท่านั้น ความเป็นอิสระนั้นคือความคิด ความคิดที่ว่าเราไม่ได้คิดว่า เราจะต้องชนะ แต่ว่าเราช่วยเหลือกันเพราะว่าเราต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน