หน้าแรก
แด่มังกรโบราณผู้จากไป
คำนำของโกวเล้ง
ฤทธิ์มีดสั้น
ชอลิ่วเฮียง
เซียวฮื้อยี้
หงส์ผงาดฟ้า
 
   

โกวเล้งมีชื่อจริงว่า   ฮิ้มเอี้ยวฮั้ว   เกิดเมื่อปี ค. ศ.  1938  บิดาเป็นชาวมณฑล กังไสตัวเขาเกิดที่ฮ่องกง   เมื่ออายุ 14 ปี ก็เดินทางไปศึกษาต่อที่ไต้หวัน    จบการ ศึกษาภาคมัธยมที่โรงเรียนเฉินกง  ตงเสีย     จากนั้นเข้ามหาวิทยาลัยต้ากัง   แผนก ภาษาต่างประเทศ
ระหว่างที่พำนักที่ไต้หวัน  หลายปีแรกทางบ้านยังส่งเสินทองมา  แต่เมื่อ อายุ 18 ปี  การช่วยเหลือจุนเจือได้ขาดตอน  เขาไร้บ้านช่องให้คืนกลับ  ยังดีที่ได้รับ การช่วยเหลือ  จากเพื่อนคนหนึ่งหาที่ซุกหัวนอนให้ที่ถนนโพวเซี้ย

ขณะที่เรียนปีสอง โกวเล้งก็เริ่มจับปากกาเขียนหนังสือนวนิยายชิ้นแรกเป็น เรื่องแปลตีพิมพ์ในวารสารเสรีภาพ หนุ่มสาว   เมื่อปี 1956  ก็เขียนนิยายชีวิตเรื่อง จากแดนเหนือถึงแดนใต้    นำลงในนิตยสารซิ้งกวงโดยใข้นามปากกา  โกวเล้ง น่าเสียดายหนังสือดังกล่าวสูญหายไปหาไม่ได้
  มีคนเข้าใจว่านามปากกาโก้วเล้ง    ซื่งแปลว่ามังกรโบราณ หมายถึง ประเทศจีน   โกวเล้งให้ความกระจ่างว่า  เขามีเพื่อนหญิงคนหนึ่งแซ่โก้ว  ชื่อของ เธอมีคำหงส์เพื่อสอดคล้องกับชื่อของเพื่อนหญิง   เขาจึงใช้นามปากกาโก้วเล้ง
(มังกร)
นอกจากเขียนนิยายชีวิตแล้ว โก้วเล้งยังเคยเขียนอาชญนิยายโดยใช้ฮ่องกง เป็นฉากเรื่อง "ชิ่วเชีย" (มือปืน) กันเรื่อง "ปวยเอ็ง-ปวยเอ็ง" (นกขมิ้นนกเหยี่ยว)

ก่อนที่จะจบการศึกษาภาคมหาวิทยาลัย  มีคนแนะนำให้โก้วเล้งทำงาน ในหน่วยชลประทานที่สือเหมิน แต่ทำเพียงวันเดียวเพราะว่าเขาสามารถสอบ เข้าค่ายที่ปรึกษาทหารอเมริกันประจำไต้หวัน  ได้รับเรียกตัวให้เข้าไปทำงาน
โก้วเล้งเคยบอกว่า  "ถ้าตอนนั้นผมทำงานที่หน่ยวชลประทานสือเหมิน ต่อไป    วันนี้ก็ไม่มีโก้วเล้ง"

ภายใต้ชีวิตที่เรียนไปทำงานไป ในที่สุดโก้วเล้งจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัย ต้ากัง  แผนกภาษาต่างประเทศ   นับเป็นนิสิตรุ่นสุดท้าย  ภาษาอังกฤษของเขา ดีมาก   แต่บุคคลภายนอกรู้ไม่มากนัก
โก้วเล้งอยู่ที่ค่ายที่ปรึกษาทหารอเมริกัน  มีงานไม่มากนัก  ดังนั้นเขา ตะลุยอ่านวรรณกรรมตะวันตกที่มีอยู่ในค่าย   ผลพวงจากการอ่านนี้ได้กลับกลาย เป็นวัตถุดิบให้กับการเขียนนิยายกำลังภายในของเขาในภายหลัง
เนื่องเพราะมีเวลาว่างเหลือเฟือ   ประกอบกับตอนนั้นนิยายกำลังภายในที่ ไต้หวันเฟื่องฟูมาก   โก้วเล้งจึงเริ่มเขียน นิยายกำลังภายในส่งไปให้กับสำนักพิมพ์ลื่อสี   ซึ่งพิมพ์นิยายกำลังภายในโดยเฉพาะ   ตั้งชื่อเรื่องว่า  "ชังเกียงซิ้งเกี่ยม"
(เทพกระบี่โพยม)
  มีความยาว 12 เล่ม   แต่ละเล่มจะตัวหนังสือประมาณ 50,000 ตัว  โดยใดรับค่าต้นฉบับเล่มละ 700 เหริยญไต้หวัน    ครั้งแรกที่โก้วเล้งเบิกค่า ต้นฉบับได้ก็ไปเที่ยวที่ย่านซีเหมินติง   ใช้เงินหมดไปในคืนเดียว


นิยายกำลังภายในยุคต้นของโก้วเล้ง   ล้วนเดิมตามเส้นทางกำลังภายใน ซึ่งเป็นที่นิยมในตอนนั้น    เนื่องจากตอนนั้นมี "อ้อเล้งเซ็ง" กับ "จุกัวะแชฮุ้น" สองนักเขียนใหญ่ครองตลาดอยู่   นามปากกาของเขาไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก
จวบกระทั่งปี ค.ศ. 1964 โก้วเล้งเริ่มเปลี่ยนแนวการเขียนด้วยเรื่อง "อ้วงฮวยโซยเกี่ยมลก" (นักสู้ผู้พิชิต)  โดยนำเอาวิชาซามูไรจากแดนอาทิตย์อุทัย มาต่อสู้กับแนวทางกระบี่ของบู๊ลิ้มตงง้วน   นำความแปลกใหม่มาสู่วงการนิยาย
กำลังภายใน   แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวงที่สุดของโก้วเล้ง  เกิดจากเรื่อง "บู๊ลิ้มงั่วซื่อ" (ราชายุทธจักร)
ราชายุทธจักร    เป็นงานเขียนที่เริ่มเปลี่ยนแปลงวิธีการเขียนของโก้วเล้ง ค่อยหลุดพ้นจากแบบอย่างของนักเขียนอื่น ทั้งยังเป็นการเขียนจากชีวิตจริงของเขา
ก่อนหน้าที่จะเขียน  ราชายุทธจักร  โก้วเล้งกับเพื่อนสนิทของเขาคนหนึ่ง ต่างมีเพื่อนหญิง  คนทั้งสี่กินและ เที่ยวด้วยกัน   ต่อมาเพื่อนสนิทของเขาออกนอก ประเทศเขาย่อมต้องดูแลเพื่อนหญิงของเพื่อนสนิท   ผลจากการดูแลก่อเกิดเป็น
ความสัมพันธ์ขึ้น
เหตุการณ์ตอนนี้สร้างความสะทกสะท้อนแก่เขา    เมื่อเขียน ราชายุทธจักร จึงอาศัยตัวนางเอก จูฉิกฉิก ถ่ายทอดความรู้สึกอ้างว้าง   ความในใจที่ไม่มีทาง เลือกของสตรีนางหนึ่งออกมา


ต่อจากนั้นโก้วเล้งยังรู้จักเพื่อนหญิงอีกสามคน  เป็นสิ่งจูงใจให้เขาเขียนเรื่อง "ชอลิ่วเฮียง" (จอมโจร จอมใจ)  ซึ่งมีสหายหญิงมากมาย  "เจาะต่อซังเกียว" (เซียวฮื้อยี้)  เขียนถึงสตรีหนึ่งเข้มแข็ง หนึ่งอ่อนแอ   และเรื่อง "ตอเช้งเกี่ยมแขะ บ้อเช้งเกี่ยม" (ฤทธิ์มีดสั้น)  ซึ่งเขียนถึงอารมณ์และความรู้สึกของสตรีได้ละเอียด ลึกซึ้งยิ่ง

โก้วเล้งยังรู้จักหญิงสาวเลือดผสมครึ่งจีนครึ่งญี่ปุ่นคนหนึ่ง  เธออยู่ที่ไต้หวัน คนเดียว   พวกเขาพยายามสลัดหลุดจาก ผู้ปกครองของตัว   หนีไปเที่ยวที่เมือง ฮัวเหลียน    เมื่อกลับมาเขาก้เขียนเรื่อง "ลิ้งแช ฮู้เตียบ" (ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่) ซึ่งเปรียบเปรยนางเองเซี่ยวเตี๊ยบเป็นผีเสื้อที่แสนสวยตัวหนึ่ง
เหตุจูงใจอีกประการหนึ่งที่โก้วเล้งเขียนเรื่อง  ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่   เพราะ นิยมชมขอบเรื่อง  ก๊อดฟาเธอร์  ของมาริโอ ปูโซ่    ดังนั้นดัดแปลงบุคลิกของ ก๊อดฟาเธอร์มาเป็นเล่าแป๊ะได้อย่างกลมกลืน
ช่วงเวลานั้นโก้วเล้งยังเขียนเรื่อง  "เซียวจับอิดนึ้ง"  สะท้อนความรู้สึกของ คนที่อยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย   โดยเปรียบเปรยเป็นสุนัขป่า    สามารถกินใจนักอ่าน จำนวนมาก
โก้วเล้งตัวจริงรูปร่างอ้วน  ใบหน้าโต  ไม่หล่อเหลาแม้แต่น้อย  แต่เขาก็นำ บุคลิกของตัวเองมาสร้างเป็นตัวเอกในเรื่อง  "ไต้นั้งม้วย" (ผู้ยิ่งใหญ่)
โก้วเล้งไม่เห็นว่าวีรบุรุษเงียบเหงา   วีรบุรุษของเขาล้วนสำราญ    ดังนั้นเขา เขียนเรื่องวีรบุรุษสำราญสร้างตัวละคร ก๊วยไต้โล่ว  เฮ้งต๋ง  และอี่ฉิกขึ้น


โก้วเล้งเพียรพยายามนำความแปลกใหม่มาสู่นิยายกำลังภายในอยู่เสมอ   เมื่อภาพยนตร์เรื่อง  ดิเอ็กซอซิสต์  เกรียวกราวไปทั่ว    เขาก็เกิดไอเดียสร้างชุดสยองขวัญขึ้น   น่าเสียดายที่เพียงเขียนเรื่อง   "ฮ้วยเอ็งบู๊ (นกแก้วสยองขวัญ)  เพียงเรื่อง เดียวก็หยุดเขียน
โก้วเล้งยังสร้างแนวทางสายใหญ่   โดยเขียนชุดอาวุธของโก้วเล้ง ซึ่งประกอบด้วย  กระบี่อมตะ   เดชขนนกยูง   ดาบมรกต   แค้นสั่งฟ้า   ทวนทมิฬ   ทั้งยังเขียนเรื่อง  "เล็กเซี่ยวหงส์" (หงส์ผงาดฟ้า)  ซึ่งแบ่งเป็นตอน ๆ คล้ายชุด เชอร์ล็อคโฮล์ม และชุดเจมส์ บอนด์ 007    โดยทุกตอนแยกเป็นเอกเทศ  แต่มีส่วน ต่อเนื่องกัน
ประมาณปี ค.ศ. 1976    โก้วเล้งค่อยแต่งงานใหม่ หลังจากแต่งงานเขา ได้เขียนเรื่อง  "แป๊ะเง็กเล่าโฮ้ว" (ศึกเสือหยกขาว)
หลังการแต่งงาน   โก้วเล้งยังคบเพื่อนหญิง  เป็นเหตุให้ชีวิตการแต่งงานเกิดรอยร้าว    ช่วงเวลานั้นโก้วเล้ง ได้เขียนเรื่อง  "ลี้เปียกเกา" (ตะขอจำพราก)   ซึ่ง เป็นต้นกำเนิดของคำ  "การพลัดพรากเพราะเพื่อการอยู่ร่วม"  กับเรื่อง  "เอ็งฮ้ง บ้อหลุย" (จอมยุทธไร้น้ำตา)   เขียนถึงคนเสเพลไร้รากวีรบุรุษไร้น้ำตา


โก้วเล้วก่อนเขียนหนังสือ   ต้องอาบน้ำชำระกายให้สะอาดหมดจด  สวมใส่ เสื้อผ้าที่สบาย  ค่อยเริ่มงานเขียน   ขณะที่เขียนหนังสือต้องมีของสามอย่าง  หนึ่งคือ บรั่นดีแก้วหนึ่ง  บุหรี่ซองหนึ่ง  น้ำมันเขียวขวดหนึ่ง
ปกติโก้วเล้งไม่สูบบุหรี่   เมื่อเขียนหนังสือจะทาน้ำมันเขียวกับบุหรี่  จุดบุหรี่ ขึ้นสูดควันบุหรี่ที่หอมเย็น  จิบบรั่นดีคำหนึ่ง   เริ่มใช้ความคิด
ความจริงเขาวางพล็อตเรื่องไว้แล้ว   เพียงแต่ใช้ความคิดว่า  จะเดินเรื่องอะไร เขาเขียนเร็วมาก  ชั่วโมงหนึ่งสามารถ เขียนได้สามสี่พันตัว   แต่บางครั้งเขียนไม่ออก แม้สักตัวเดียว  เมื่อถึงเวลานั้นเขาจะอัดบุหรี่อย่างหนัก  และดื่มเหล้าจัด
โก้วเล้งชมชอบสะสมหนังสือและภาพวาด    เขามีหนังสือกว่าแสนเล่ม  เนื่อง เพราะมีพื้นฐานภาษาอังกฤษดีเยี่ยม   เขาไม่เพียงรับนิตยสารต่างประเทศ  ยังรับสิ่งพิมพ์ ในประเทศแทบทุกชนิด  เขาอ่านหนังสือเร็ววันหนึ่งต้องอ่านหนังสือ อย่างน้อยสามสี่ ชั่วโมง

ยอดนักเขียนจูกัวะแชฮุ้น แยกแยะว่า งานเขียนของโก้วเล้งมีข้อดี อยู่สามประการ นึ่งคือการศึกษาวรรณกรรมตะวันตก ทำให้เขาก้าวล้ำนำ หน้านักเขียนนิยายกำลังภายในอื่น ๆ สอง โก้วเล้งตั้งชื่อเด่น ชื่อตัวละคร โดดเด่น อาวุธและกระบวนท่า เป็นเอกเทศ ทำให้ผู้คนอ่านผ่านตายากลืม เลือน เช่นเรื่องลิ้วแช ฮู้เตียบ เกี่ยม (ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่) เทียนไง้ เม้งง้วย
ตอ (จอมดาบหิมะแดง) กับชื่อตัวละคร ชอลิ่วเฮียง (ทิ้งความหอม) เล็กเซี่ยวหงสื (หงส์น้อย) สาม คำโต้ตอบของโก้วเล้งดีเยี่ยม มีคนบอกว่า โก้วเล้งเขียนคำโต้ตอบได้ดีเยี่ยม เพราะสืบเนื่องจากความใจกว้างของเขา

โก้วเล้งป่วยเป็นโรคตับแข็ง ครั้งแรกที่เข้าโรงพยาบาล กระอักเป็นเลือดออกมาสองอ่าง หมอสั่งห้ามไม่ให้ดื่มอีก ดังนั้นสุราในบ้าน ของโก้วเล้งเริ่มมีฝุ่นเกาะ เมื่อโก้วเล้งไม่ดื่มเหล้าเพื่อนพ้องที่แวะเวียนมา ไม่ขาดสาย ก็เริ่มห่างหายไปทีละ คน สามเดือนให้หลัง โก้วเล้งอดเหล้า ไม่ได้ เมื่อดื่มลงไปต้องเข้าโรงพยาบาลอีก เข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาล ถึงสามครั้ง ครั้งสุดท้ายกระอักเป็นเลือดพุ่งไปทั่วทั้งเตียง นางพยาบาล ตกใจกล้วเตลิดหนีไปหมด ต่อมาหมอบอกกับเขาว่า "หมอไม่เคยเห็น ใครกระอักเลือดมากเท่าคุณมาก่อน"