อินเตอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP กล่าวคือ
มีการส่งข้อมูลกันด้วยแพคเกจที่เรียกว่า IP แพคเกจ ไอพีแพคเกจนี้เปรียบเสมือนเป็นซองจดหมายที่ส่งไปได้ได้ด้วยการจ่าหน้าซอง
การทำงานของเครือข่ายใช้ไอพีแอดเดรสเป็นหลักในการส่ง
ไอพีแอดเดรสมีความสำคัญ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนเครือข่ายมีไอพีแอดเดรสกันทั้งนั้น
และไอพีแอดเดรสไม่ซ้ำกัน การจ่าหน้าซองใช้หมายเลขไอพีนี้เป็นสำคัญ
เมื่อต้องการส่งแพคเกจจากเครือข่ายใด
เช่น เครือข่าย kmitnb.ac.th ซึ่งมีกลุ่มหมายเลขเป็นไอพีเป็น 202.44.164 หมายความว่า
ทุกเครื่องที่มีหมายเลขไอพีขึ้นต้นเป็น 202.44.164 จะอยู่ในเครือข่ายนี้ ถ้าต้องการส่งแพคเกจที่จ่าหน้าซอง
198.105.232.4 ก็ต้องส่งออกนอกเครือข่ายนี้ โดยส่งออกทางเกตเวย์ซึ่งจะมีเส้นทางออก
แล้วให้ภายนอกหาเส้นทางส่งต่อไปอีก
เมื่อผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต้องการติดต่อกันด้วยชื่อเพราะจำง่าย
เช่น www.sony.com หรือถ้าต้องการติดต่อกับบริษัท ซีเกตก็ใช้ www.seagate.com ซึ่งจำได้ง่ายแต่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถส่งชื่อไปกับหน้าซองของแพคเกจไอพีได้
จำเป็นต้องหาแอดเดรสที่แท้จริงของชื่อนั้น นั่นคือเป็นหมายเลขที่ได้รับการกำหนดไว้
การกำหนดแอดเดรสที่เป็นหมายเลขไอพีเป็นเรื่องที่สำคัญ
เพราะหมายเลขไอพีนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าแต่ละเครื่องมีหมายเลขใด และอยู่ที่เครือข่ายใด
การค้นหาหมายเลขไอพี กระทำที่เครื่องให้บริการที่เรียกว่า
DNS ซึ่ง DNS เป็นคำย่อมาจากระบบโดเมน หรือ Domain Name System กล่าวคือ มีการกำหนดชื่อโดเมนตามหลักสากล
ระบบการตั้งชื่อนี้เป็นสากลและมีวิธีการกำหนดชื่อแบบมีระบบ
องค์กรที่ดูแลระบบชื่อนี้คือ Network Information Center หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า
NIC NIC จะดูแลชื่อในระดับบน นั่นหมายถึงชื่อในระดับ edu, com, net, th, jp ....
และได้กระจายความรับผิดชอบออกไป โดยที่กลุ่มภายในแต่ละประเทศจะดูแลกันเอง โดยกลุ่ม
th ที่จะแตกย่อยลงไปเป็น co, ac, go .... นั้น ขณะนี้มีการลงทะเบียนและเก็บเป็นข้อมูลที่เรียกว่าฐานข้อมูลไว้ที่จุฬาลงกรณ์
การจดชื่อทะเบียนชื่อเครือข่ายจึงต้องกระทำร่วมกัน กล่าวคือเมื่อได้หมายเลขไอพี
ของเครือข่ายแล้ว จะต้องจดชื่อโดเมนของเครือข่ายด้วย ชื่อโดเมนของเครือข่ายเช่น
kmitnb.ac.th มีหมายเลขเครือข่ายเป็น 202.44.164 นั่นหมายถึง ทุกแอดเดรสที่ขึ้นต้นด้วย
202.44.164 จะมีชื่อโดเมนเป็น kmitnb.ac.th
เมื่อแต่ละองค์กรมีการจดทะเบียนชื่อเครือข่ายแอดเดรสของเครือข่ายไว้
ทำให้ระบบบริหารมีลักษณะการกระจายกล่าวคือ เราสามารถมากำหนดหมายเลขไอพี ภายในเครือข่ายย่อยของเราเองได้
และยังกำหนดสับโดเมน (sub domain) ซึ่งเป็นชื่อย่อยต่อไปได้เอง โดยไม่ต้องแจ้งบอกใคร
เราเป็นผู้ดูแลได้เอง เช่น ถ้าจะแบ่งแยกเป็น pe.kmitnb.ac.th, me.kmitnb.ac.th
กรณี pe และ me นี้ไม่ต้องไปแจ้งใคร แต่เราจะมีการเก็บไว้ในฐานข้อมูลของเราเอง
ระบบอินเตอร์เน็ตมีลักษณะการบริหารงานแบบกระจาย
ดังนั้นเมื่อกำหนดชื่อเครือข่ายและไอพีได้แล้ว เราก็จะบริหารงานภายในของเราเอง
โดยที่ภายในเครือข่ายนี้จะต้องใช้หลักการเดิมคือแตกกระจายออกไปได้อีก เราจะมีฐานข้อมูลหลักที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดหมายเลขไอพีให้กับเครื่อง
การตั้งชื่อเครื่อง และการแบ่งแยกเครือข่าย ระบบฐานข้อมูลนี้จะเก็บไว้ที่เครื่องไว้คอยให้บริการสอบถาม
เราเรียกเครื่องให้บริการนี้ว่า name server เนมเซิร์ฟเวอร์ในองค์กรเรา เราจะเป็นผู้ดูแล
ดังนั้นถ้ามีเครื่องต่อเข้าสู่เครือข่ายใหม่ เราจะเป็นผู้กำหนดหมายเลขไอพีและชื่อให้เอง
การกำหนดนี้ต้องกำหนดให้ถูกต้อง และอยู่ภายในเครือข่ายเรา ข้อมูลที่เกิดขึ้นนี้จะได้รับการบันทึกไว้ในเครื่องบริการเนมเซิร์ฟเวอร์นี้
ผู้บริหารเนมเซิร์ฟเวอร์จึงต้องคอยดูแลปรับปรุงเฉพาะข้อมูลของตนเองภายในเครือข่ายหรือโดเมนที่ตนเองรับผิดชอบ
เช่น เนมเซิร์ฟเวอร์ของเครือข่าย kmitnb.ac.th มีชื่อว่า kmitnb05.kmitnb.ac.th
ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักหนึ่งเครื่อง สำหรับให้บริการเรื่องชื่อและหมายเลขภายในเครือข่าย
การอ้างอิงชื่อเพื่อทำงานมีขั้นตอนอย่างไร
ลองพิจารณาดูลำดับ
ลอกมาจากหนังสือ Internet Magazine ฉบับที่ 01
Internet Magazine ฉบับที่ 09