เรือนคอมพิวเตอร์ไทย Intel Celeron
Celeron (Covington)
- สถาปัตยกรรมเดียวกับเพนเทียม II คือ SEC (Single Edge Cartridge)
- ไม่มีแคชระดับสอง
- เทคโนโลยี 0.25 ไมครอน
- จำนวนทรานซิสเตอร์ 7.5 ล้านตัว


Celeron(Mendocino)
สงวนลิขสิทธิ์
Intel Celeron "A"
สารบัญของเรื่องนี้
เมนโดชิโน.. มาแล้ว
แคชระดับสอง 128 กิโลไบต์ในซีพียู
ประสิทธิภาพในการทำงาน
ข้อมูลเพิ่มเติม


เมนโดชิโน.. มาแล้ว
เมื่อ "โควินตัน" ซีพียูตระกูล Celeron ของอินเทลออกสู่ท้องตลาด ถึงแม้ว่าอินเทลจะพยายามโฆษณาให้น่าเชื่อถือว่า ซีพียู Slot 1 ไม่มีแคชระดับสอง (External Cache) ที่ชื่อว่า Celeron นั้นเป็นรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเพนเทียม MMX (Socket 7 ที่อินเทลประสบความสำเร็จก่อนหน้านั้น) และราคาถูก แต่ความจริงที่เห็นก็คือ ประสิทธิภาพของ "โควินตัน" เป็นสิ่งที่ลืมไปได้เลย จากการทดสอบพบว่าประสิทธิภาพของ "โควินตัน" ต่ำกว่าซีพียูในเวทีเดียวกัน (เรียกว่าเวทีเดียวกัน ก็หมายถึงว่ามีในตลาดช่วงเวลาเดียวกันนั่นแหละครับ)
ถึงเวลาที่อินเทลจะต้องปฎิวัติหรือแย่งตลาดคืนมาให้ได้ :-( แย่เอาการเหมือนกัน เพราะ "โควินตัน" หรือ Celeron รุ่นไม่มีแคชทำให้ผู้ซื้อตระหนักถึงประสิทธิภาพต่ำของซีพียูตระกูล Celeron และเป็นแรงกดดันให้อินเทลต้องเร่งนำ "เมนโดชิโน" Celeron รุ่นมีแคช 128 kb ออกสู่ตลาด โดยให้รหัส "A" ต่อท้าย เช่น Celeron 300A (300 MHz), Celeron 333A (333 MHz)
ย้อนกลับหัวเรื่อง
แคชระดับสอง 128 กิโลไบต์ในซีพียู
แรกทีเดียวดูเหมือนจะเป็นที่คาดกันไปต่างๆ นานา เกี่ยวกับ "เมนโดชิโน" สิ่งที่อุตสาหกรรมคาดกันก็คืออินเทลจะใช้วิธีการผลิตเช่นเดียวกับ เพนเทียม II คือ แคชระดับ 2 อยู่บนแผงเดียวกับซีพียู แต่ไม่ได้รวมอยู่ในซีพียู (วางขนาบอยู่สองข้างเหมือนเพนเทียม II) แต่เมื่อ "เมนโดชิโน" ออกสู่ตลาด เทคโนโลยีที่อินเทลใช้สร้างความทึ่งให้กับผู้ที่ชอบคาดหมายไปตามประสาอาศัยประสบการณ์เก่าอย่างผมมาก นั่นคืออินเทลไม่ได้สร้างแคชระดับสองไว้ที่ใดที่หนึ่งในแผงวงจรของซีพียูเลย แต่ผนวกเอาลงไปในเวเฟอร์ของชิปเลย เหตุที่อินเทลสามารถทำเช่นนั้นได้ก็เพราะสายการผลิตของ Celeron ใช้เทคโนโลยีขนาดของทรานซิสเตอร์ 0.25 ไมครอน ทำให้ลดพื้นที่ในการบรรจุทรานซิสเตอร์กว่า 7.5 ล้านตัวลงไป และเหลือที่ว่างพอสำหรับแคชระดับสองที่จะผนวกเข้ามา จะมีปัญหาที่อินเทลต้องคิดอย่างหนักก็คือ ปริมาณความร้อนที่เพิ่มขึ้นและการระบายความร้อนของซีพียู เพราะจะมีผลกระทบต่อการประมวลของซีพียู การสร้าง "เมนโดชิโน" โดยการผนวกเอาแคชระดับสองลงไปบนตัวชิปหลักของซีพียูเลย ข้อดีคือความเร็วและประสิทธิภาพในการประมวลผล เพราะความเร็วของแคชระดับ 2 มีความเร็วเท่ากับความเร็วสัญญาณนาฬิกาของซีพียู
แต่ปัญหาของผู้ซื้อก็คือ แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าตัวไหนคือ "โควินตัน" / Celeron แบบไม่มีแคชระดับสองและตัวไหนคือ "เมนโดชิโน"/Celeron แบบมีแคช 128 kb เพราะถ้าหากแกะตัวซีพียูออกมาดู จะเห็นว่าหน้าตาเกือบจะเหมือนกัน ส่วนที่แตกต่างคือ ขนาดของชิปที่แตกต่างกันเล็กน้อย ถ้าหากคนตรวจสอบไม่มีประสบการณ์มากพอ จะแยกไม่ออกเลยว่าตัวไหนคืออะไร หากพลิกดูที่ Code ที่ตัวซีพียูก็จะไม่พบความแตกต่างอีกเช่นกัน :-(
ย้อนกลับหัวเรื่อง
ประสิทธิภาพในการทำงาน
จากการทดสอบประสิทธิภาพในการทำงาน เจ๋งเป้ง! อินเทลค่อยเรียกความเชื่อมั่นคืนจากผมได้ไปเกือบกระบุงโกย เมื่อเทียบกับซีพียูบนเวทีเดียวกัน "เมนโดชิโน" ค่อยมีที่ทางให้ยืนให้นำมาใช้งานหน่อย คราวนี้ถ้าถามต่อไปว่า แล้ว "เมนโดชิโน" ควรนำมาใช้อะไร ก็นำมาใช้งานแทน เพนเทียม MMX งัยครับ เพราะอินเทลได้เลิกผลิตเพนเทียมไปนานแล้ว และ "โควินตัน" ก็เป็นเพียงตัวคั่นเวลาที่นอกจากจะทำอะไรคู่ต่อสู้ไม่ได้ ยังส่งผลให้ชื่อ Celeron ฝากความไม่เชื่อมั่นให้กับผู้ใช้งานอีกด้วย
ย้อนกลับหัวเรื่อง
หมายเหตุการทดสอบ
ในการทดสอบครั้งนี้ผมทดสอบโดยใช้เมนบอร์ดสองรุ่น ทั้งสองรุ่นนั้นเมื่อเปลี่ยนซีพียูเป็น "เมนโดชิโน" ปรากฎว่าเวลาบูตแทนที่จะบูตตามปกติ คือ บอกว่าเป็นซีพียูรุ่นไหน ความเร็วเท่าไร ปรากฎว่าข้อความรายงานคล้าย 98MHz แล้วก็ไม่บูตต่อ การแก้ปัญหาก็คือ ต้อง Flash BIOS แน่นอนละครับ หากทางผู้ผลิตเมนบอร์ดไม่ได้ออกเวอร์ชั่นสำหรับ Flash ให้รู้จัก "เมนโดชิโน" ก็จะไม่สามารถใช้งานได้ ประการนี้สอนให้ผมทราบว่า เมนบอร์ดที่ใช้กับ "โควินตัน" ได้ ไม่ใช่ว่าจะใช้งานกับ "เมนโดชิโน" ได้เสมอไป
ข้อมูลเพิ่มเติม
Celeron รุ่น โควินตัน-สถาปัตยกรรม